ลักษณะของแมลงวันหัวเขียว
ชนิดหมัดคน |
![]() |
หมัดที่มีความสำคัญทางการแพทย์สามารถแยกชนิดในเบื้องต้นได้จากลักษณะโครงสร้างภายนอกโดยหมัดที่มีความสำคัญทางการแพทย์ ได้แก่หมัดคน (P. irritans), หมัดคน (T. penetran), หมัดหนูเมืองร้อน (X. cheopis), หมัดแมว ( Ct. felis) และหมัดสุนัข (Ct. canis) |
หมัดคน Pulex irretans |
![]() |
หมัดชนิดนี้เป็นปรสิตของคนและหนู มีรายงานพบหมัดนี้ในคนในประเทศอินเดีย ปากีสถาน แต่ไม่มี รายงานพบหมัดนี้ในคนในประเทศไทย การกัดของหมัดนี้จะทำให้เกิดอาการแพ้บริกเวณที่ถูกกัด หมัดชนิดนี้จะมีขนที่ตา (ocular bristle) อยู่ใต้ตารวม ไม่มีแผงหนามที่แก้ม (genal comb) ไม่มีแผงหนามตรงท้ายของอกปล้องกลาง (pronatal comb) ไม่มีร่อง mesopleural rod ที่โคนขาคู่ |
![]() |
ตัวเมียนั้นจะวางไข่ 4 ถึง 8 ฟองในทุกครั้งหลังจากกินเลือด พวกมันโดยทั่วไปสามารถวางไข่ได้หลายร้อยฟองตลอดระยะเวลาที่เป็นตัวเต็มวัย |
หมัดคน Tunga penetrans |
![]() |
หมัดชนิดนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น chigoe, jigger, sand-flea, Nigua เป็นหมัดที่มีขนาดเล็กมาก โดยมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เป็นปรสิตภายนอกของคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบในอเมริกาใต้ แอฟริกาและอินเดียว แต่ไม่มีรายงานในประเทศไทย หมัดชนิดนี้จะฝังตัวใต้ผิวหนังสัตว์ที่มันอาศัย ส่วนมากพบที่ซอกนิ้วเท้าและฝ่าเท้า ลักษณะของหมัดนี้คือส่วนหัวเรียบแคบ ส่วนอก (thorax) แคบมาก โดยจะแคบกว่าปล้องท้อง (abdomen) ปล้องแรกมาก ไม่มีแผงหนาม genal comb และไม่มี pronatal comb ไม่มี mesopleural rod |
![]() |
![]() |